สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้รับอนุญาตจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติให้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2491 โดยมี ดร.คลุ้ม วัชโรบล ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้แทนชุมนุมวิทยาศาสตร์ ไปขออนุญาตการจัดตั้งสมาคมฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ในหมู่สมาชิกและผู้สนใจในวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่สมาชิก รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาและค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป

วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ

  1. เพื่อพัฒนากิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย
  2. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในหมู่สมาชิก และผู้สนใจในวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย
  3. เพื่อส่งเสริมความสามัคคีระหว่างสมาชิก
  4. เพื่อส่งเสริมการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
  5. เพื่อติดต่อกับองค์การและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ ทั้งในและนอกประเทศ
  6. เพื่อรวมกำลังความรู้ของบรรดาสมาชิก สำหรับนำไปใช้ในการส่งเสริมสวัสดิการสาธารณะ
  7. เพื่อโฆษณาเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ประชาชน และไม่เกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด 

กิจกรรมของสมาคมฯ

            ด้านการศึกษา

  1. ให้รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปีในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา
  2. จัดสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคมของทุกปี
  3. ร่วมกับ สสวท. สมาคมวิชาการ หน่วยงานของรัฐและเอกชนจัดส่งเยาวชนไทยไป แข่งขันคณิตศาสตร์- วิทยาศาสตร์โอลิมปิก
  4. ให้การสนับสนุนส่งเยาวชนไทยเข้าร่วมกิจกรรมวิทยาศาสตร์เยาวชนนานาชาติ ณ กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา
  5. คัดเลือกครู นักเรียน นักวิทยาศาสตร์ เพื่อเข้าร่วมงาน Apec Youth Science Festival
  6. เผยแพร่กิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ 11 ชุมนุม ให้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
  7. จัดค่ายวิทยาศาสตร์เยาวชนช้างเผือกซิเมนต์ไทยเป็นประจำทุกปี
  8. สัมมนาการประชุมปฏิบัติการและการอบรมครูวิทยาศาสตร์ โดยสาขาวิชาการต่างๆ และสาขาส่วนภูมิภาค เป็นประจำทุกปี
  9. ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ สสวท. และมูลนิธิซิเมนต์ไทย จัดการฝึกอบรมครูสอน วิทยาศาสตร์วิทยาสา สตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้เนื้อหาและวิธีการสอนแบบเน้นการทดลอง -จัดประกวดกิจกรรมเยาวชนต่างๆ

            ด้านการวิจัยและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

  1. ให้การเห็นชอบการให้รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ โดยมูลนิธิส่งเสริม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ
  2. การให้รางวัลนักวิทยาศาสตร์อาวุโสประจำปี
  3. จัดพิมพ์วารสารวิทยาศาสตร์เผยแพร่ปีละ 6 เล่ม
  4. จัดพิมพ์วารสารฉบับภาษาอังกฤษ Science Asia (JSST) เผยแพร่ปีละ 4 เล่ม
  5. จัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท.) เป็นประจำทุกปี
  6. จัดบรรยายและการประชุมสัมมนาวิชาการในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและนานาชาติ

            ด้านการบริการและความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในประเทศและต่างประเทศ

  1. เผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป โดยผ่านสื่อมวลชนและรายการวิทยุ “วิทยาศาสตร์ใกล้ตัว”
  1. ร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศ เช่น สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) สภาสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สสวทท.) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ที่ประชุมคณบดีคณะวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยตางๆ
  1. ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทางด้านวิชาการในต่างประเทศ อาทิเช่น FASAS, FAOBMB, และ IFAAS เป็นต้น