Junior Young Rising Stars of Science
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างบุคลากรด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรุ่นใหม่ เพื่อให้ก้าวต่อไปเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถสูงของ ประเทศ นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศได้อย่างยั่งยืน สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ จึงจัดให้มีรางวัล Junior Young Rising Stars of Science เพื่อมอบให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมปลายที่ทำโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความดูแลและรับผิดชอบของ คณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่มีผลงานโดดเด่นในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นครั้งแรก นอกจากเป็นการเชิดชูเกียรติของนักเรียนเหล่านี้แล้ว ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความสนใจที่จะศึกษาต่อใน ระดับปริญญาบัณฑิตในด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งคาดหวังว่าเยาวชนเหล่านี้จะเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักเทคโนโลยีที่มี ความสามารถสูงในระดับประเทศหรือในระดับสากลได้ต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างกำลังใจให้ดับนักเรียนในการศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมและเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
- เพื่อเชิดชูเกียรติให้ดับนักเรียนอันเป็นแบบอย่างที่ดีให้ดับรุ่นน้องต่อไป
ผู้มีสิทธิ์ได้รับการเสนอซื่อ
- เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย ที่ทำโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ภายใต้ความดูแลและรับผิดชอบของคณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
- มีผลงานโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เสร็จแล้ว ซึ่งได้รับการพิจารณาดัดเลือกเป็น ผลงานวิจัยยอดเยี่ยม และเสนอซื่อมายัง สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ โดยคณบดีคณะ วิทยาศาสตร์ที่ดูแลและรับผิดชอบ แด,ละคณะเสนอซื่อมาได้ไม่เกิน 3 โครงการ
- ต้องนำเสนอผลงานรูปแบบโปสเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ ในงาน International Congress on Science, Technology and Technology - based Innovation (STT) (โดยนักเรียนเจ้าของผลงานอย่างน้อย 1 คน ซึ่งนักเรียน 1 คนที่มานำเสนอผลงานจะได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบียนการประชุม)
รางวัล
ผู้ได้รับการเสนอซื่อมายังสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยๆ โดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จะได้รับการ เชิดชูเกียรติเป็น Junior Young Rising Stars of Science และได้รับรางวัลดังต่อไปนี้
- เกียรติบัตร (จำนวนฉบับเท่ากับจำนวนนักเรียนที่เป็นเจ้าของผลงาน)
- การเป็นสมาชิกรายปีของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยๆ เป็นเวลา 2 ปี (นักเรียนทุกคน ที่เป็น เจ้าของผลงานได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมสมัครสมาชิกรายปีของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ เป็นเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีถัดไปที่ได้รับรางวัล)
ขั้นตอนดำเนินการ
- ประซาสัมพันธ์โครงการ
- เชิญให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกซน เสนอซื่อนักเรียนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2564
- กำหนดส่งบทคัดย่อภาษาอังกฤษ และใบสมัครของนักเรียน ที่ www.Scisoc.or.th ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม จนถึง 15 สิงหาคม 2564
- กำหนดวันนำเสนอผลงานในงาน The 47th International Congress on Science, Technology and Technology - based Innovation (STT47) ที่อาคารวุฒิชัย กปิสกาญจน์ คณะศิลปศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม (ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม 2564)
- มอบเกียรติบัตร ในงาน STT47 (วันที่ 7 ตุลาคม 2564)
สถานที่ติดต่อ / ส่งใบสมัครได้ที่
ศาสตราจารย์ ดร. ศุภวรรณ ตันตยานนท์
ประธานโครงการ Junior Young Rising Stars of Science Award
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
สำนักงานคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพๆ 10330
ลงทะเบียนและส่งผลงาน (บทคัดย่อ)ได้ที่ WWW.Scisoc.or.th ใน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม จนถึง 15 สิงหาคม 2564
หากมีคำถามหรือชัดข้องประการใด โปรดติดต่อที่
E-mail: contact@scisoc.or.th โทรศัพท์ 02-2527987,02-2185245 Fax 02-2524516
คุณศิรดา อารมณ์ชื่น 06-2329-6466
โครงการ Junior Young Rising Stars of Science
ข้อปฏิบัติสำหรับนักศึกษาที่ได้รับการเสนอชื่อรับรางวัล JYRSS
ลิงค์แบบฟอร์มสำหรับนักศึกษาที่ได้รับการเสนอชื่อรับรางวัล JYRSS
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSft4-yM0_34mRcCd5WtYpXp6gUTog7NpR-2Lz1vOd-2rM5a-w/viewform?usp=sf_link