โครงการสรรหาครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

************************************

หลักการและเหตุผล

            เพื่อเป็นการยกย่องและสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูวิทยาศาสตร์ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและเป็นครูที่ดีตั้งใจในการสอนนักเรียนและนักศึกษาให้เป็นคนดีมีความรู้คู่คุณธรรมออกไปรับใช้สังคม เป็นครูที่รักความก้าวหน้าในการสอนสามารถคิดและใช้เทคนิคและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการสอนวิทยาศาสตร์โดยมีความสามารถในสอนแบบการบูรณาการศาสตร์พื้นฐานสู่การประยุกต์ใช้จริง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถใช้วิทยาศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ ตลอดจนรู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ครูมีใจศรัทธาในอาชีพครูวิทยาศาสตร์ มีความเสียสละหมั่นศึกษาค้นคว้าเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ให้ก้าวทันโลกในยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้จัดทำโครงการสรรหาครูวิทยาศาสตร์ประจำปี  โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน เรียกว่า “ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น” เพื่อประกาศเกียรติคุณและประกาศรางวัลในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ของแต่ละปี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อประกาศเกียรติคุณครูที่มีความดีเด่นทางด้านการสอนวิทยาศาสตร์ ที่มีผลงานดีเด่นทางด้านการสอนและพัฒนาสื่อช่วยสอนในด้านต่างๆ อย่างก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง

2. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถคิดและค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาทำการสอนและเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนและนักศึกษาที่ตนเองรับผิดชอบ

3. เพื่อให้เป็นครูตัวอย่าง และสร้างศรัทธาให้เกิดกับครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีความมุ่งมั่นในการคิดค้นหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการสอนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

เป้าหมาย

ครูสอนวิทยาศาสตร์ ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา รวม 4 ระดับ โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. สอนวิทยาศาสตร์ ต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึง 16 เมษายน  และปัจจุบันยังปฏิบัติการเป็นครูสอนด้านวิทยาศาสตร์

2. มีผลงานที่แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความสามารถในด้านการสอน ใช้เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ในเชิงบูรณาการ ตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับในสถานศึกษา หรือเป็นแบบอย่างของครูทั่วไป

3. เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และมีความรับผิดชอบสูง ของความเป็นครู เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นและสังคม

การดำเนินการและระยะเวลาดำเนินงาน

1 นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ  พิจารณาและอนุมัติโครงการตามที่ประธานสรรหาครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นนำเสนอ

2 สมาคมประชาสัมพันธ์โครงการ พร้อมส่งแบบรายงานประวัติ และผลงานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับครูวิทยาศาสตร์ในรูปเอกสาร และข่าวอิเลคทรอนิกส์ทางเว็บไซต์ของสมาคม (www.scisoc.or.th) หน่วยงานที่เชิญชวนร่วมโครงการ ได้แก่

  2.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  2.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 185 เขต

  2.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 42 เขต

  2.4 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

  2.5 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

  2.6 สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

  2.7 สำนักงานเทศบาลเมือง

  2.8 คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ

  2.9 คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ

  2.10 คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ

  2.11 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตต่างๆ

  2.12 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 

3 การสมัครเข้าร่วมโครงการสรรหา “ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ มี 2 วิธี ดังนี้

  3.1 สมัครได้ด้วยตนเอง

  3.2 หน่วยงานที่สังกัดเสนอให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมโครงการ

4 ส่งแบบรายงานประวัติ และผลงานต่างๆ เพื่อขอรับการสรรหาเป็นครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ไปยังสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ  แบบรายงานให้นำส่งจำนวน 2 ชุด

5 การพิจารณาสรรหาของสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการในแต่ละภูมิภาคจะสรรหาในเบื้องต้น และในขั้นสุดท้ายให้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาก่อนนำเสนอสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ เพื่ออนุมัติต่อไป ซึ่งจะดำเนินการสรรหาตามขั้นตอน ดังนี้

 

ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566

ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565

ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564

ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2563

ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2562

ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561

ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2560